วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันพฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559

เวลา 14.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
เนื้อหาการเรียนการสอน เรื่อง สมรรถนะทั้ง 7 ด้วยของเด็กปฐมวัย 
สมรรถนะ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย  
ตัวอย่าง การเคลื่อนไหวและการทรงตัว

3 ปี - วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่ต้องกางแขน
5 ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่างการมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี - พูดคุยและเล่นกับเพื่อน
4 ปี - ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี - ชวนเพื่อนเล่นด้วยโดยกำหนดสถานที่
ความสำคัญของสมรรถนะ 
-ทำให้พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก และครู เข้าใจเด็กมากขึ้น
-สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในแต่ละช่วงมากขึ้น
-ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน "คู่มือช่วยแนะแนว"
สมรรถนะทั้ง 7 ด้ายประกอบด้วย
การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
พัฒนาการด้านสังคม
พัฒนาการด้านอารมณ์
พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
พัฒนาการด้านภาษา
พัฒนาการด้านจริยธรรม
พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์
สรุปจากงานวิจัย
จากสมรรถนะจำนวน 419 ข้อ พบว่าเด็กทำได้ในระดับจากง่ายไปยาก ดังนี้

สมรรถนะ 178 ข้อ อยู่ระดับ ง่าย
สมรรถนะ 53 ข้อ อยู่ระดับ ปานกลาง
สมรรถนะ 189 ข้อ อยู่ระดับ ยาก









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้แก่เด็กปฐมวัน เราต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน และคำถึงสมรรถนะของเด็กด้วยเช่นกัน
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียน มีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนและอาจารย์

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆมารอเรียนก่อนเวลา ตั้งใจเรียนและพูดคุยกับอาจารย์ได้ดี บรรยากาศในห้องเรียนอบอุ่น

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ไม่สบาย แต่ก็พยายามตั้งใจสอนเราอย่างเต็มที่ให้เราได้ความรู้มากที่สุด มีการเตรียมการสอน บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน ไม่เครียด

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

เวลา 14.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

เริ่มการเรียนการสอนเนื้อหา โดยการนำเสนองานกลุ่มเรื่อง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

นักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาด้านร่างกาย

กีเซลล์ สามารถนำมาประยุกต์ได้โดย
-ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินไป ให้เด็กพัฒนาไปตามวัย
-จัดกิจกรรมให้เด็กเคลื่อนไหว ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ ฟัง พูด ร้องเพลง


อีริคสัน สามารถนำมาประยุกต์ได้โดย
-ควรสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นอย่าอิสระ
-จัดกิจกรรมเคลื่อนไหว จังหวะ การเคลื่อนที่ของตนเองได้ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม



ต่อมาเข้าสู่การปฏิบัติ เริ่มต้นด้วยการบริหารสมองซีกซ้ายและขวาเช่นเคย และอาจารย์พูดคุยและเปิดวิดีโอที่สะท้อนเกี่ยวกับวัยรุ่นให้ดู คอยแนะนำ คอยเตือนอยู่เสมอ

 ภาพกิจกรรม










กิจกรรมต่อมา กิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่  โดยรอบแรกอาจารย์ให้เราทำเดี่ยว และรอบที่สองแบ่งกลุ่มให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่คนละ 2 ท่า หน้าชั้นเรียน เพื่อฝึกความกล้าแสดงออก

จากนั้นอาจารย์สอนวิธีการพูด การบอกขั้นตอนท่าทาง ในการเคลื่อนไหวให้กับเด็ก การอธิบายให้เด็กฟังนั้นต้องอธิบายให้ชัดเจนและยิ้มแย้มแจ่มใสในการสอนกิจกรรมเพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่น อยากเรียนสนุกสนาน และให้ทุกคนคิดท่าเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่คนละ 3 ท่า พร้อมคำอธิบายมาแสดงหน้าห้องเรียน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวให้เด็กสิ่งที่ต้องคำนึงถึงการอธิบายและทำท่าทาง และทำตัวอย่างให้เด็กดู ให้เด็กเกิดความน่าสนใจและสนุกสนานกับกิจกรรม  มีส่วนร่วมกับกิจกรรมตลอด และสีหน้าของครูที่ต้องยิ้มแย้มแจ่มใสในการสอนเด็ก 

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่มได้ดี แสดงความคิดเห็นต่างๆ

ประเมินเพื่อน
ทุกคนกล้าแสดงออก มีวิธีการพูดที่แตกต่างกันและสนุกสนานในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอดแทรกเทคนิคต่างๆให้ตลอด และร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังคอยอบรมสั่งสอน คอยเตือน คอยดูแลและเป็นห่วงในเรื่องการใช้ชีวิตในวัยรุ่น
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


วันพฤหัสบดี ที่ 28 มกราคม 2559
เวลา 14.30-17.30 น.

เรียนวันจันทร์ ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนการสอนในวันนี้ เรื่อง การจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

ประเภทกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีดังนี้
1.การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่พื้นฐาน
-   การเดิน
-   การวิ่ง
- การกระโดด
- การคลาน

การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่
2. การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
การกระทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี
การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ 
สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและอนามัย แบ่งประเภทกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3.ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4.ประเภทจินตนาการจากคำบรรยาย
5.ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

แนวทางการประเมิน
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
2 .สังเกตทำท่าทางแปลกใหม่
3. สังเกตทำท่าทางตามคำสั่ง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


จากนั้นเนื้อหาการเรียนเกี่ยวกับสมองของมนุษย์ อาจารย์อธิบายการทำงานสมองของมนุษย์ ส่วนประกอบและหน้าที่ต่างๆของสมองมนุษย์และดูวีดีโอการฝึกบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวา















การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

นำการเคลื่อนไหวในรูปแบบประเภทต่างๆไปสอนเด็กได้ถูกต้อง และมีแนวทางวิธีการประเมินกิจกรรการเคลื่อนไหวต่างๆไปประเมินเด็ก เป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องของสมองในการใช้สอนเด็กและให้เด็กได้ฝึกพัฒนาสมองซีกซ้ายและขวา

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
คอยจดบันทึกเนื้อหาที่เรียน พูดคุยและตอบโต้กับอาจารย์

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์และช่วยกันตอบคำถามต่างๆ

ประเมินอาจารย์
มีการสอนเนื้อหาที่คลอบคลุมกระชับ อธิบายชัดเจนและมีเกร็ดความรู้มาบอกเสมอ